By anne33

ธาลัสซีเมีย เกิดขึ้นเนื่องจากเฮโมโกลบินในสายแอลฟามีการสร้างผิดปกติ โดยปกติแล้วจะมีแหล่งระบาดอยู่ในแถบตะวันออกเฉียงใต้เป็นหลัก ได้แก่ ไทย จีน ฟิลิปปินส์ และบางส่วนของแอฟริกาตอนใต้

ความผิดปกติเกี่ยวกับการสร้างสายแอลฟา โดยปกติแอลฟาธาลัสซีเมียส่วนใหญ่เกิดจากยีนแอลฟาโกลบินขาดหายไป เป็นท่อนยาวหลายกิโลเบส (large deletion) ทำให้การสร้างสายโปรตีนแอลฟาโกลบินลดลงหรือสร้างไม่ได้เลย ความรุนแรงที่เกิด จะขึ้นอยู่กับจำนวนยีนแอลฟาโกลบินที่ขาดหายไป แอลฟาธาลัสซีเมียแบ่งได้ดังนี้

1.แอลฟาธาลัสซีเมีย 1 (α-thalassemia 1) หรือแอลฟาศูนย์ธาลัสซีเมีย (ao-thalassemia) แอลฟาธาลัสซีเมียชนิดนี้จะไม่สร้างสายแอลฟาโกลบินเลย ส่วนใหญ่เกิดจากยีนแอลฟาทั้ง 2 โลไซ (loci) ขาดหายไป แอลฟาธาลัสซีเมีย 1 ที่พบบ่อยในเอเชียอาคเนย์ รวมทั้งในประเทศไทยคือชนิด Southeast Asia type (SEA) เกิดจากยีนขาดหายไปประมาณ 19 กิโลเบส และชนิดที่พบบ่อยแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนคือ ชนิด Mediterranean type (Med) มียีนขาดหายไปประมาณ 18 กิโลเบส มีชนิดอื่นๆที่พบไม่บ่อยอีกประมาณ 10 ชนิด เช่น Thai มีรายงานในคนไทยหลาย ครอบครัว เกิดจากยีนขาดหายไปยาวประมาณ 34 กิโลเบส 

2 .แอลฟาธาลัสซีเมีย 2 (α-thalassemia 2) หรือแอลฟาบวกธาลัสซีเมีย (α+-thalassemia) แอลฟาธาลัสซีเมียชนิดนี้สามารถสร้างสายโปรตีนแอลฟาโกลบินได้ แต่ในปริมาณที่น้อยกว่าปกติ มีอาการรุนแรงน้อยกว่าแอลฟาธาลัสซีเมีย 1 ความผิดปกติส่วนใหญ่เกิดจากบางส่วนของยีนขาดหายไป เหลือยีนแอลฟาโกลบินเพียงยีนดียวที่ทำหน้าที่ ชนิดที่พบบ่อยคือชนิดยีนขาดหายไป 3.7 กิโลเบส (a3.7) และ 4.2 กิโลเบส (a4.2) แอลฟาธาลัสซีเมีย 2 นี้พบได้บ่อยกว่าแอลฟาธาลัสซีเมีย 1 แอลฟาธาลัสซีเมีย 2

           นอกจากจะเกิดจากยีนขาดหายแล้ว ยังมีอีกหลายชนิดที่เกิดจากการกลายพันธุ์เฉพาะจุด (point mutation) ชนิดที่พบบ่อยคือฮีโมโกลบินคอนสแตนท์สปริง (Hb Constant Spring, Hb CS)  ซึ่งเป็นฮีโมโกลบินผิดปกติที่เกิดจากการแทนที่เบส (base substitution) 1 ตัว ที่โคดอนหยุด (stop codon) คือเบส U เปลี่ยนเป็น C ทำให้โคดอนหยุดเลื่อนถัดไปอีก 31 โคดอน สายโปรตีนแอลฟาโกลบินที่สร้างได้จึงยาวกว่าปกติและไม่เสถียร

3. เฮเตอโรไซโกตเชิงซ้อน (compound heterozygote) ของแอลฟาธาลัสซีเมีย 1 และแอลฟาธาลัสซีเมีย 2 (–/-α) ทำให้เกิดโรคฮีโมโกลบินเฮ็ช (Hb H diseases) ซึ่งเป็นโรคธาลัสซีเมียที่มีอาการรุนแรงปานกลาง

4. โฮโมไซโกต (homozygote)  ของยีนแอลฟาธาลัสซีเมีย 1 (–/–) จะไม่สามารถสร้างสายโปรตีนแอลฟาโกลบินได้เลย ทำให้เกิดโรคทารกบวมน้ำชนิดมีฮีโมโกลบินบาร์ท(Hb Bart’s hydrops fetalis) ซึ่งเป็นโรคธาลัสซีเมียที่มีอาการรุนแรงที่สุด ทารกที่เป็นธาลัสซีเมียชนิดนี้จะเสียชีวิตทั้งหมด อาจเสียชีวิตก่อนหรือหลังคลอดภายใน 24 ชั่วโมง

ตาราง แสดง Genotype ของ α-Thalassemia

α-Thalassemia

Genotype

Normal αα/αα
α-thal 2 trait -α/αα, αcsα/αα
α-thal 1 trait –/αα, α-cs/αα
HbH disease (HbH = β 4) –/-, –/αcsα
HbBart’s Hydrop fetalis (HbBart’s =γ 4) –/–

                                 

                               

                               

         

 

 

การถ่ายทอดยีนแอลฟาธาลัสซีเมีย สามารถแสดงได้ดังรูป

 

ที่มา: 

http://www.nhlbi.nih.gov/health/dci/Diseases/Thalassemia/Thalassemia_Causes.html


0 Responses to “แอลฟาธาลัสซีเมีย”



  1. Leave a Comment

Leave a comment




April 2024
M T W T F S S
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930  

Recent Entries